หลักการทำงานของ UPS







UPS จะแปลงพลังงานไฟฟ้า แบบ AC (กระแสไฟสลับที่จ่ายมาจากการไฟฟ้า) ทาง Input ซึ่งจะมีปัญหาทางไฟฟ้าให้เป็นแบบ DC (กระแสไฟตรง) ซึ่งจะปราศจากปัญหาทางไฟฟ้าต่างๆ เพื่อเก็บลง Battery ไว้ใช้สำรอง (Charger) และเมื่อระบบไฟ AC นั้น มีปัญหา UPS จะมีส่วนที่เรียกว่า Inverter ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าที่สะสมใน Battery นั้นกลับไปเป็น พลังงานไฟฟ้าแบบAC ที่ปราศจากปัญหา ทางไฟฟ้า เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ ต่อเชื่อมอยู่ทางด้าน Output

ในปัจจุบันนี้สามารถจำแนกเทคโนโลยีทาง UPS ออกเป็น 


1 Off-Line (Standby) UPS


สถานะมีไฟฟ้ามาปกติ 


เมื่อมีปัญหาทางไฟฟ้า



เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนของเครื่อง UPS ต่ำสุด และ ให้คุณภาพไฟฟ้าต่ำสุด เช่นเดียวกัน UPS แบบ Off-Line ระบบนี้มีความสามารถ เพียงแต่จ่ายกระแสสำรองให้อุปกรณ์เท่านั้นแต่จะไม่สามารถป้องกันมลภาวะทางไฟฟ้าได้


2 On-Line Protection UPS

สถานะมีไฟฟ้ามาปกติ

เมื่อมีปัญหาทางไฟฟ้า


เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ ต้นทุนของเครื่อง UPS ปานกลาง และ ให้คุณภาพไฟฟ้าปานกลาง เช่นเดียวกัน UPS แบบ On-Line Protection ระบบนี้มีความสามารถจ่ายกระแสสำรองให้อุปกรณ์และมีความสามารถป้องกันมลภาวะทางไฟฟ้าได้ระดับหนึ่ง


3 Ture On-Line UPS

สถานะมีไฟฟ้ามาปกติ

สถานะไฟฟ้าดับ

สถานะ Bypass

 

เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ ต้นทุนของเครื่อง UPS สูงสุด และ ให้คุณภาพไฟฟ้าสูงสุด เช่นเดียวกัน


เราควรจะเลือกซื้อ UPS แบบไหนให้ตรงกับการใช้งานมากที่สุด

ส่วนมากหลายๆท่านจะเข้าใจกันว่าการเลือกซื้อ UPS นั้นจะพิจารณาเพียงแค่ ขนาด (VA) , ระยะเวลาสำรองไป , และราคา แต่จริงๆ แล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่จะนำมาพิจารณาในการเลือกซื้อ UPS ดังนี้ 


1 ขนาดและการนำไปใช้งาน

โดยปกติ เราจะดูที่ขนาดก่อนใช่ไหมครับว่าขนาดเท่าไรจึงจะเหมาะกับคอมของเรา ทีนี้มาดูให้มันลึกลงไปอีกในเรื่องเดียวกันนี้ โดยทั่วไปนั้นคอม 1 ชุด จะใช้ไฟฟ้าประมาณ 350 - 450 VA โดยวิธีการหาค่า VA ของอุปกรณ์คอมนั้นให้ทำดังนี้ครับ 


ยกตัวอย่าง เครื่องคอม และจอ 17 นิ้ว จะใช้แรงดันไฟฟ้า 220 V และใช้กระไฟฟ้าที่ 1.5 A ดังนั้นจะมีขนาดคำนวนออกมา ให้เป็นกำลังหรือค่า VA คือ 220 x 1.5 = 330 VA ส่วนอุกรณ์ที่จะนำมาต่อพ่วงเข้าไป วิธีคิดก็เหมือนกันครับ โดยสามารถ ดูได้จากคู่มือของอุปกรณ์นั้นๆ แล้วก็นำมาคำนวนดู จากนั้นนำมารวมกัน ทีนี้เราก็จะได้ขนาดของ VA ที่เราจะใช้เพื่อที่จะได้เลือก UPS ให้ตรงกับการใช้งานแล้วล่ะ


2 ระยะเวลาการสำรองไฟ [ Back Time ]

หมายถึงระยะเวลาที่ UPS จะจ่ายกระแสไฟได้หลังจากที่เกิดไฟดับหรือเกินความสามารถที่ UPS จะปรับแรงดันไฟฟ้า UPS ก็จะจ่ายไฟฟ้าออกมาจากแบตเตอรี่ ซึ่งความสามารถในการจ่ายไฟด้วยแบตเตอรี่นั้นต้องดูที่ Output ในส่วนของ Voltage Blackup โดยทั่วไป Back Time จะมีความสัมพันธ์กับขนาดกำลังไฟฟ้าของ UPS และขนาดกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ โดยปกติหลังจากเกิดไฟฟ้าดับ และ UPS เริ่มทำงาน เราจะใช้เวลาเพียงแค่บันทึกงานที่ค้างอยู่ และปิดเครื่องเท่านั้น ดังนั้น ระยะเวลาการสำรองไฟ อาจจะไม่จำเป็นมากนัก เช่นอาจจะนานอยู่ระหว่าง 10 - 20 นาที แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้า และชนิดของแบตเตอรี่ด้วย ถ้าแบตเตอรี่เป็นแบบชนิด Hige-Rate จะสมารถสำรองไฟได้นานถึง 25 - 45 นาทีเลยทีเดียว


3 ความสามารถในการปรับแรงดันไฟฟ้า

ในข้อนี้ ให้ดูตรงส่วนของ Protection ว่าสามารถปรับแรงดันให้เราได้ในระดับไหน (จะบอกค่าเป็น%) ที่เหมาะสมที่สุด จะอยู่ที่ 20 %


4 จำนวนปลั๊กไฟ

คงจะไม่ใช่ทางเลือกที่สำคัญมากนัก แต่ก็ควรที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจได้เหมือนกัน ตรงนี้ให้ดูตามความต้องการ


5 ปลั๊กต่อสำหรับสายโทรศัพท์

อันนี้จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อปกกันความเสียหายจากฟ้าผ่าได้ ถึงแม้จะได้ไม่ 100 % แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้กระแสไฟเหล่านั้น ไหลเข้าสู่เครื่องเราเต็มๆ ไม่ใช่เหรอครับ 


6 ซอฟต์แวร์

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ ที่จะนำมาประกอบการเสียตังค์ของเรา เพราะปัจจุบันมีหลายยี่ห้อที่นำโปรแกรมมาทำงานร่วมกับ UPS ยกตัวอย่างนะครับ ถ้าเกิดไฟดับในขณะที่คุณไม่ได้ทำงานอยู่ที่หน้าเครื่อง โปรแกรมดังกล่าวจะคอยตรวจสอบ และจะช่วยบันทึกข้อมูลสำคัญไว้ แล้วก็จัดการ Shutdown เครื่องของคุณก่อนที่แบตเตอรี่จะหมด