คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
สายสัญญาณสำคัญไฉนในยุคที่อะไรๆ ก็ไร้สาย
7 เม.ย. 2020 14:19:23
สมัยก่อนบ้านใครมีโทรศัพท์โคตรเท่ ต่อมาต้องเป็นโทรศัพท์บ้านไร้สาย ไปๆ มาๆ ก็กลายมาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือที่ชาวบ้านเรียกโทรศัพท์มือถือ … ระบบเครือข่ายในบ้านก็เหมือนกัน เมื่อก่อนวุ่นมากกับการเดินสาย LAN ทั่วบ้าน แต่เดี๋ยวนี้อยากมีระบบเครือข่ายในบ้าน ไม่ต้องเดินสาย LAN อะไรให้ยุ่งยากมากแล้ว ติด Wireless Access Point แล้วจะต่อมือถือหรือโน้ตบุ๊กหรือแท็บเล็ต ก็เข้าเครือข่ายในบ้านได้เลย
แต่มันหมดยุคสายสัญญาณแล้วเหรอ?!? คำตอบคือ ไม่ใช่ครับ
ระบบเครือข่ายแบบไร้สายมันดูเท่ มันดูสะดวก มันดูแล้วรู้สึกว่าทลายข้อจำกัดเรื่องการเชื่อมต่อ ไม่ต้องมีสายอีกต่อไป แต่สุดท้ายเอาเข้าจริงๆ ก็ต้องพึ่งพาสายสัญญาณครับ … ทำไมน่ะเหรอ? ก็เพราะว่า “คลื่นความถี่” ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูล มันเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดน่ะสิ
จำกัดยังไง? แม้เราจะมองไม่เห็น แต่จริงๆ แล้วรอบตัวเราเนี่ย มีคลื่นความถี่วิ่งผ่านไปผ่านมาตลอดเวลา มีข้อมูลต่างๆ ถูกรับส่งไปกับคลื่นความถี่นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ บลาบลาบลา ข้อมูลแต่ละแบบ ก็ใช้คลื่นความถี่เฉพาะของตนไป เช่น วิทยุก็อาจจะใช้ความถี่ย่าน 87.5MHz – 108MHz ส่วนพวกโทรศัพท์มือถือ อย่างในประเทศไทยปัจจุบันก็อยู่ในย่าน 850/900/1800MHz หากเป็นเครือข่าย 3G ก็จะอยู่ที่ย่าน 850/900/1900/2100MHz อะไรแบบนี้ เป็นต้น … เมื่อใช้สิ่งที่เรียกว่าแบนด์วิธ ซึ่งเปรียบเสมือนความกว้างของถนนให้รถ (ข้อมูล) วิ่ง จนเต็มเอี้ยดแล้วก็หมดกัน จะไปเพิ่มแบนด์วิธก็ลำบาก เพราะคลื่นความถี่มีจำกัด และมีการนำไปใช้งานอื่นๆ เยอะแยะ
ในทางกลับกัน สายสัญญาณนั้นกลับให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าแบบไร้สาย เหตุผลหนึ่งที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะมันเป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลที่ดีกว่า อีกทั้งสามารถป้องกันพวกสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า เช่น สาย UTP ก็ใช้วิธีการตีคู่เกลียวเพื่อลดสัญญาณรบกวน, สาย Coaxial ก็มีรุ่นที่มีฉนวนป้องกัน หรือสาย Fiber optic เมื่อรับส่งข้อมูลด้วยแสงก็เลยไม่มีคลื่นรบกวน เป็นต้น
แน่นอน สายสัญญาณก็มีข้อจำกัดด้านแบนด์วิธเช่นกัน แต่ว่าสายสัญญาณก็มีแบนด์วิธที่กว้างกว่าการเชื่อมต่อแบบไร้สายมาก (เครือข่ายไร้สายอาจจะวิ่งที่ความเร็ว 1Gbps แต่พวกสายสัญญาณเขาวิ่งกันที่ 10Gbps ได้แล้ว) นอกจากนี้ แม้จะใช้งานแบนด์วิธจนเต็มแล้ว การเพิ่มแบนด์วิธก็แค่เพิ่มจำนวนสายสัญญาณเข้าไปนั่นเอง
เล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ แม้จะไร้สาย แต่สุดท้ายแล้วข้อมูลที่รับส่ง ก็จะต้องผ่านสถานีฐาน ซึ่งจะมีการเชื่อมต่อกับชุมสายอินเทอร์เน็ตผ่านทางสายสัญญาณอยู่ดีครับ ฉะนั้น หากเจอปัญหาเล่นอินเทอร์เน็ต 3G/4G หรือไปเล่น WiFi Hotspot แล้วมันไม่เร็วอย่างที่โม้ นอกเหนือจากปัจจัยของตัวผู้ให้บริการแล้ว ความชำนาญของช่างเทคนิคที่ติดตั้งสายสัญญาณ และตัวคุณภาพของสายสัญญาณเองก็มีผลต่อความเร็วด้วย
มาตรฐานอื่นๆ ที่พึงพิจารณาเมื่อเลือกสายสัญญาณ
นอกจากสเปกทั่วๆ ไปของสายสัญญาณ แล้ว พวกคุณสมบัติอื่นๆ ของสายสัญญาณก็ควรจะเอาเข้ามาพิจารณาด้วย โดยเฉพาะในกรณีของผู้ใช้งานในระดับองค์กร เพราะว่าเสถียรภาพของระบบเครือข่ายมีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างมาก มากกว่าผู้ใช้งานตามบ้านอย่างผมเยอะ
ทีนี้คุณภาพของสายสัญญาณเนี่ย มันก็วัดกันลำบาก ต่อให้ดูจากสเปกแล้วก็เหอะ และจะหาคนมารีวิวให้ดูเหมือนพวกสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตก็คงยาก (ผมเอง จะให้ไปรีวิวสายสัญญาณก็คงไม่ไหวเช่นกัน)
ฉะนั้นเลยต้องมี Certified Body ต่างๆ ซึ่งเป็นสถาบันทดสอบและรับรองมาตรฐานของสายสัญญาณ เข้ามาช่วยในเรื่องการ “รับรองมาตรฐาน” ของสายสัญญาณในเรื่องต่างๆ ครับ เช่นในกรณีของสายสัญญาณ LINK เนี่ย ก็จะมี
-ISO9001 หมายถึงระบบบริหารจัดการคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตสายสัญญาณ LINK นั้นผลิตภายใต้กระบวนการผลิตที่มีการควบคุมอย่างมีคุณภาพ (แนวคิดของ ISO9001 คือ สินค้าที่ดีจะผลิตขึ้นมาได้ กระบวนการผลิตต้องมีคุณภาพก่อน)
-Delta และ 3P จะทดสอบเรื่องมาตรฐานการลามไฟ การเกิดควันเมื่อถูกไฟไหม้ อะไรประมาณนี้ (สายสัญญาณจำพวกที่เดินภายในอาคารที่ดี ต้องไม่ลามไฟ ไม่งั้นเวลาเกิดไฟไหม้ มันจะกลายเป็นเส้นทางลามของไฟไปยังชั้นอื่นๆ (เคยพูดถึงไปแล้วในบล็อกตอน สายสัญญาณที่ดีนั้นสำคัญไฉน) ตามมาตรฐาน IEC สำหรับจำหน่ายในสหภาพยุโรป
- UL และ intertek จะให้การรับรองสายสัญญาณ LINK ในเรื่องประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณ โดยมีการทดสอบครบทั้งวงจรของสายสัญญาณ (Channel Test) ตามมาตรฐาน ANSI/TIA สำหรับจำหน่ายใน USA
-RoHS นี่ผมว่าสำคัญ เพราะเป็นเรื่องของการรับรองว่าสายสัญญาณ LINK จะไม่มีพวกสารปนที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต (Harzardous substances) จำพวกตะกั่ว แคดเมียม ปรอท ฯลฯ เกินมาตรฐานที่กำหนด
ฉะนั้น เวลาเลือกสายสัญญาณอ่ะครับ … นอกจากดูจากสเปกของสายสัญญาณตามที่ผู้ผลิตเขาได้โม้เอาไว้แล้ว ก็ควรจะพิจารณาด้วยว่า ตัวผู้ผลิตเองนั้นได้รับการรับรองมาตรฐานอะไร จาก Certify Body (เรียกย่อๆ ว่า CB) ไหนบ้าง เพราะแม้เราจะไม่สามารถไปรีวิวหรือทดสอบคุณภาพของสายได้แบบเต็มเหนี่ยว อย่างน้อยๆ เราก็ได้มั่นใจว่าพวก CB เหล่าเนี้ย เขาไปทดสอบตามมาตรฐานสากลมาแล้ว และรับรองว่าสายสัญญาณที่ผลิตจากผู้ผลิตรายนี้เขาผ่านมาตรฐานครับ
คุยกันอยู่พักใหญ่ ก็ได้เรื่องได้ราวมาประมาณสองเรื่องหลักๆ สำคัญๆ นี่แหละ เลยเอามาเขียนเล่าสู่กันอ่านครับ
หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial
ข้อมูลจาก www.kafaak.com