คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
เทคโนโลยี 5G เกี่ยวข้องกับสายสัญญาณได้อย่างไร
7 เม.ย. 2020 11:10:01
หลังจากประเทศไทยได้ทำกันประมูล 4G หรือ คลื่นความถี่ 1,800 MHz จบไปได้ไม่นาน ซึ่งผู้ชนะคือ True และ AIS และในต่างประเทศเองก็กำลังเร่งพัฒนาระบบ 5G เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต แต่ในเมื่อเป็นการให้บริการไร้สายบนโทรศัพท์มือถือ แล้วงานนี้จะมาเกี่ยวข้องกับสายสัญญาณได้อย่างไร?
5G คืออะไร
สำหรับเทคโนโลยี 5G นั้นเป็นมากกว่าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ไม่เพียงแค่เราจะดาวน์โหลดหรืออัปโหลดไว้ขึ้น แต่ยังก่อให้เกิดบริการใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Smart Car, eHealth, Connected House, Smart Grids หรืออื่น ๆ อีกสารพัด โดยจากการคาดการณ์ในปี 2025 จะมีความต้องการอินเตอร์เน็ตสูงกว่าปี 2010 ถังพันเท่า!
เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ยุค Internet of Things (IOTs) หรือ Connected World อย่างสมบูรณ์แบบ จึงจำเป็นต้องเพิ่มความเร็วสูงสุดของเทคโนโลยี 5G (ปัจจุบัน 4G ประมาณ 100 Mbps) ให้สามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 10 Gbps โดยอาจโอนถ่ายข้อมูลโดยเฉลี่ยที่ 100 Mbps ไปยังอุปกรณ์กว่าล้านชิ้นในเวลาเดียวกันภายใต้รัศมี 1 กิโลเมตรได้เลยทีเดียว
และถ้าหากไม่มีอะไรผิดพลาดและมาตรฐาน 5G ได้ผ่านการยอมรับของสมาชิก ITU ทั้ง 193 ประเทศ เราอาจได้เห็นการทดสอบอย่างเป็นทางการในช่วงปี 2018 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวที่ Pyeongchang นั่นเองครับ
ความเกี่ยวข้องของ 5G (อันที่จริงรวมถึง 3G/4G ก็ด้วย) ถึงแม้ว่ามันจะไร้สายแต่ในฐานะผู้ให้บริการ (Services Provider) ก็จำเป็นที่จะต้องมีสายอยู่ดี ดังตัวอย่างของภาพด้านบนที่ใช้ส่งข้อมูลระหว่างฐาน และคิดว่าหลายคนคงเคยเจอกันที่ว่าบางครั้งสัญญาณเต็ม แต่อินเตอร์เน็ตกลับช้าเหมือนเต่า
ดังนั้นก็จึงมาเกี่ยวเนื่องกับสายสัญญาณนั่นเอง โดยแบ่งออกเป็น LAN (UTP), Fiber Optic, CCTV (Coaxial) ตามลักษณะงานที่ใช้ (รวมถึงงบประมาณและอุปกรณ์ต่อพ่วง) และแน่นอนว่าคุณภาพของสายเองก็มีผลโดยตรงต่อคุณภาพการใช้งาน
สำหรับตัวอย่างด้านบนเป็นภาพของสาย CAT5e เส้นเล็กที่เรารู้จักกัน เปรียบเทียบกับ CAT8 ที่จะมาเป็นหนึ่งในมาตรฐานของอนาคต ซึ่งจะใช้แบรนด์วิดท์ 2,000 MHz โอนถ่ายข้อมูลได้ความเร็วสูงสุด 25GBaste-T/40GBaste-T (Class I/Class II) แต่มีระยะทางสูงสุดเพียง 30 เมตร
แต่ถ้าหากคุณมองว่า CAT8 มันเป็นเรื่องไกลตัวเกินไป ลองมาดูกับสาย CAT6 ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันมากกว่า โดยมีจุดเด่นอยู่ตรงที่ Cross Filler และทำความเร็วได้สูงสุด 10 Gbps ที่ระยะทาง 55 เมตร หากใครต้องการวางระบบในบ้านหรือออฟฟิศแนะนำให้เริ่มต้นที่ตัวนี้เลยครับ ดีกว่าเริ่มต้นที่ CAT5e
จากตารางด้านบนเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนของ CAT5e กับ CAT6 แล้วจะพบว่ามีความแตกต่างกันแค่ 5% เท่านั้นเอง แลกกับมาตรฐานที่สูงกว่าและความเร็วที่มากกว่า ส่วนเรื่องสาย CAT8 ที่กำลังจะเป็นอนาคตคาดว่าจะเป็นที่นิยมในปี 2020 หรือช่วงเวลาเดียวกับ 5G ที่เคยได้กล่าวในตอนแรกนั่นเอง
และไม่เพียงแต่สาย LAN สำหรับ Fiber Optic เองก็มาแรงไม่แพ้กันเนื่องจาก
เล็กและมีน้ำหนักเบา
เหมาะกับการใช้งานเป็น Back Bone สำหรับ Riser
บรรจุข้อมูลได้จำนวนมหาศาล
ไร้สัญญาณรบกวน
ส่วนข้อเสียก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการบำรุงรักษาที่ยาก (กรณีขาดหรือแตกหัก) รวมทั้งมีความแข็งแรงต่ำกว่า และไม่สามารถโค้งงอได้เหมือนกับสายที่เป็นทองแดงทั่วไป โดยหากต้องการใช้งานในอาคารที่ต้องการการโค้งงอของสายมาก ก็สามารถใช้สาย Fiber Optic ชนิดที่ใช้ในอาคารได้ ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง
FTTx หรือ FTTH (Fiber-to-the-home) เทคโนโลยีที่ว่ากันว่าจะมาฆ่า ADSL ในบ้านเรานั้น ตอนนี้ทาง TOT ก็เป็นลูกค้าหลักของ Interlink เช่นเดียวกัน และเทคโนโลยีนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นด้วย Bandwidth ที่สูงในระดับหลายร้อย Mbps ทั้งในความเร็วในฝั่งดาวโหลดและฝั่งอัพโหลด และผู้ใช้งานตามบ้านหรือออฟฟิศยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ผ่าน
High Speed INTERNET Gbps
IPTV
IP Phone
VDO Conference
SMART Building/Home Solutions
ซึ่งเราก็ต้องคอยดูกันต่อไปว่าผู้ให้บริการ จะสามารถทำค่าบริการให้ถูกจนจูงใจ หรือขยายพื้นที่ให้บริการจนสามารถฆ่าอินเตอร์เน็ตแบบสายทองแดงได้หรือไม่? เนื่องจากในอนาคตความต้องการใช้ปริมาณข้อมูล ย่อมสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวไม่ต่างจาก 3G > 4G > 5G นั่นเอง
ข้อมูลจาก www.ireview.in.th