Internet ช้าเป็นปัญหาโลกแตกที่ทุกคนทุกชาติต้องเผชิญ หากคุณลองค้นหาเป็นภาษาต่าง ๆ จะพบว่าทุกคนบนโลกมีปัญหาไม่ต่างจากคุณ แต่อะไรล่ะที่เป็นสาเหตุหลัก หากได้รู้ต้นเหตุที่แท้จริงแล้วคุณอาจต้องอึ้ง! เพราะส่วนหนึ่งที่ Internet ช้าเกิดจากสายที่ไม่ได้คุณภาพ

 

LAN-UTP

Internet ช้าเกิดจากสาย

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ ก่อนหน้านี้ผมก็ไม่คาดคิดเหมือนกันว่า “สาย” จะเป็นอะไรที่สำคัญขนาดนั้น จริงอยู่ที่ว่าปัจจัยของอินเตอร์เน็ตช้ามีหลายประการ แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามันไม่เกี่ยวข้องกันเลย … ทีนี้เราจะมาดูกัน ว่าสายที่เราคิดว่าเหมือนกันนั้น มันต่างกันอย่างไร

 

สำหรับคนใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตอาจคิดว่าสายยังไงก็ไม่เกี่ยวข้อง แต่แท้จริงแล้วไม่ว่าคุณจะใช้ระบบไร้สายอย่างไร ก็ต้องมีเรื่องของสายมาเกี่ยวข้องอยู่ดี (ตามตัวอย่างภาพด้านบน) บางครั้ง 3G/4G ช้าก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากสัญญาณไม่ดีเสมอไป เคยเป็นไหมครับ? บางครั้งสัญญาณเต็มทุกขีดอยู่ในย่านชานเมืองแท้ ๆ แต่ทำไมเน็ตถึงช้าเป็นเต่า

แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้ให้บริการ เราเองคงไปทำอะไรไม่ได้ (แต่รู้ไว้ก็ใช่ว่า) ต่อไปเรามาดูองค์ประกอบของเน็ตช้ากัน ว่ามันจะเกิดจากอะไรได้บ้าง?

Speed Test

สาเหตุของ Internet ช้า

เมื่อเราเล่นอินเทอร์เน็ตแล้วรู้สึกว่ามันช้าหรืออืด เรามักจะไปทดสอบความเร็วกันที่ Speedtest.net เพื่อดูว่ามันช้าแค่ไหน สำหรับสาเหตุหลักก็จะมีอยู่เพียงแค่นี้

  1. Cable ใช้ของอะไรอยู่ มีมาตรฐานรองรับน่าเชื่อถือแค่ไหน ฯลฯ

  2. Service Provider ผู้ให้บริการอาจเป็นตัวเซิร์ฟเวอร์ที่เราเข้า ฯลฯ อันนี้ทำอะไรมากไม่ได้เช่นกัน

  3. Technician เกิดจากปัญหาทางเทคนิค เลือกใช้อุปกรณ์ผิด การติดตั้งโดยช่างที่ไม่ชำนาญการ ฯลฯ

สำหรับปัญหาเรื่อง Technician ก็สำคัญไม่แพ้กัน บางบริษัทใช้อุปกรณ์ดี วางระบบคำนวณเผื่ออนาคตมาเป็นอย่างดี เลือกผู้ให้บริการเบอร์หนึ่ง แต่มาตายน้ำตื้นตรงที่ “ช่างไม่ได้มาตรฐาน”

ซึ่งทาง Interlink เองก็มีโครงการ Cablingcontest ในการประกวดพัฒนาฝีมือช่างติดตั้ง อีกทั้งยังเป็นผู้สนับสนุนหลักในการแข่งขัน ทักษะฝีมือแรงงานระดับอาเซียน (World Skill Asean) อีกด้วย

Lay Out Plan

สำหรับใครที่มีแผนจะสร้างบ้าน, อาคาร, โรงงานใหม่ การวางระบบเครือข่ายไปพร้อมกับแปลนก่อสร้างเลยก็สำคัญไม่แพ้กัน (เช่น LAN, Fiber Optic, CCTV) เพราะเดี๋ยวนี้คงไม่มีบ้านไหนมีแค่สายไฟแล้วจบ การวางระบบมาตั้งแต่ต้นเลยจะง่ายและประหยัดกว่าการมาเพิ่มภายหลัง

LAN Cable

LAN (UTP)

หากว่ากันที่เทคโนโลยีก็มีทั้ง CAT 5E, CAT 6, CAT 6A (รายละเอียดไม่ขอเล่าเพราะมันค่อนข้างเยอะ) แต่คุณรู้หรือไม่ว่าสายที่เห็นว่าเหมือนกันนั้น หลายแบรนด์ไม่ได้ผลิตตามมาตรฐาน ANSI TIA 568 ซึ่งเป็นมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยต้องผ่านการรับรองจากสถาบัน UL , intertek , 3P ,Delta และ RoHS ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับสิ่งแวดล้อม

Fiber Optic

Fiber Optic

ส่วนใหญ่เราเรียกติดปากว่า “เส้นใยแก้วนำแสง” ถึงแม้ว่าจะไม่มีทองแดงเป็นส่วนประกอบ และไม่มีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวน แต่สาย Fiber Optic ก็แบ่งออกเป็นหลายประเภทเช่นกันสเปคมีทั้ง Outdoor (ใช้ภายนอก), Indoor (ใช้ภายใน) และสายชนิดพิเศษ Outdoor/Indoor ที่สามารถใช้ติดตั้งภายนอกและต่อเนื่องเข้ามาถึงภายในอาคาร  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการติดตั้งของช่างในประเทศไทยและอาเซียน

CCTV

CCTV (Coaxial)

ส่วนใหญ่เรามักรู้จักกันในนามสายกล้องวงจรปิด แต่อันที่จริงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายเริ่มหันมาใช้กันแล้ว ซึ่งเราจะเห็นว่าสาย CCTV มีการติดตั้งที่หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งในอาคาร, กล้องในลิฟต์ซึ่งจะใช้สายที่มีความยืดหยุ่นสูง, แขวนไปกับเสาไฟฟ้า, หรือแม้กระทั่งแบบที่มีสายไฟฟ้าในตัว

***มาตรฐานอเมริกา คำว่ามาตรฐานไม่ได้บ่งบอกแค่คุณภาพของสายอย่างเดียว แต่ยังบ่งบอกกระทั่งความปลอดภัยของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสถาบัน UL (สหรัฐอเมริกา), สถาบัน Intertek (สหรัฐอเมริกา) และได้มาตรฐาน RoHS ยกตัวอย่างเช่นเวลาเกิดเพลิงไหม้ ตัวสายเองต้องไม่ลามไฟหรือก่อให้เกิดควันพิษจนเป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิต เป็นต้น

สรุป  ตัวสายแต่ละประเภทมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่คิดว่าทุกท่านคงได้ทราบกันดีแล้วว่า “มันแตกต่าง” อย่างไรก็ตามทุกครั้งที่เลือกวางระบบทั้งที อย่าลืมใช้บริการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญและลงทุนกับอุปกรณ์สายสัญญาณอินเทอร์เน็ต เชื่อผมเถอะว่าเวลาเน็ตช้าหรือเครือข่ายล่มน่ะ … มันไม่สนุกหรอก

ทั้งนี้หากคุณไม่รู้จะปรึกษาใคร ก็ลองติดต่อหาเราดูสิครับ ENCOM พร้อมให้คำปรึกษาทุกสถานการณ์ 

 

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial

ข้อมูลจาก www.ireview.in.th